Friday, July 20, 2007

gouvernement-de-supachai
Gouvernement
ในสมัยก่อนการปกครองของฝรั่งเศสเป็นแบบราชาธิปไตย และในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ทรงใช้รุปพระอาทิตย์เป็นเครื่องหมายประจำรัชกาล) ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจเหนือไพร่ฟ้ามากกว่ากษัตริย์พระองค์อื่นทั้งสิ้นในยุโรป ทรงสร้างพระราชวังแวร์ซายส์ไว้เป็นอนุสรณ์แห่งพระราชอำนาจของพระองค์ และฝรั่งเศสเริ่มมีอาณานิคมโพ้นทะเล ต่อมาได้มีล้มล้างรับบราชาธิปไตย โดยการปฏิวัติฝรั่งเศส (La révolution française) ในปี 1789-1793 และเปลี่ยนมาเป็นการปกครองแบบสาธารณรัฐที่ 1 ได้มีการจัดตั้งสภาบริหารกิจการของรัฐขึ้น บ้านเมืองอยู่ในกลียุค มีการฆ่าฟันกันภายใน และประเทศอื่นๆ ประกาศสงครามกับฝรั่งเศส และเกิดทหารฝีมือดีขึ้น ซึ่งก็คือ นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) นโปเลียน ทรงอำนาจสูงสุดเป็นผู้บริหารหมายเลขหนึ่ง และต่อมาได้สถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดิ์แห่งฝรั่งเศสในปี 1804 พระองค์นำกองทัพฝรั่งเศสให้มีชัยเหนือกองทัพประเทศยุโรป แต่เมื่อทรงบุกเข้ารัสเซีย ก็ทำให้ไม่ชนะและปราชัยเรื่อยมา จนกระทั่งถูกสั่งไปคุมขังและสิ้นพระชนม์อยู่บนเกาะเซนต์ เฮเลน่า (Saint Helena) ในปี 1821 หลังจากสมัยของนโปเลียน ฝรั่งเศสได้ฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยได้อัญเชิญพระราชวงศ์จากราชวงศ์บูร์บองส์มาขึ้นครองราชย์ ได้แก่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 และพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิป ซึ่งตอนหลัง พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปได้ถูกรัฐประหาร และถูกถอดจากราชสมบัติ และเปลี่ยนมาเป็นการปกครองแบบสาธารณรัฐที่ 2 ปี 1848-1852 โดยมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและคนที่ได้ก็คือ หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต หลานชายของอดีต จักรพรรดิ์นโปเลียน ซึ่งได้รับเลือก ด้วยคะแนนเสียงท้วมท้น หลุยส์-นโปเลียน ได้ทำการรัฐประหาร และสถาปนาพระองค์เป็น จักรพรรดิ์นโปเลียนที่ 3 แต่ก็ครองราชย์ได้ไม่นาน เพราะพระองค์ได้นำประเทศเข้าสู่สงครามหลายครั้ง และมักปราชัยเสมอ สงครามปรัสเซีย ฝรั่งเศสแพ้ เสียแคว้นอัสซาสและลอร์เรนให้ปรัสเซีย เมื่อรัชสมัยของพระองค์ยุติลง ก็ได้เปลี่ยนมาเป็น สาธารณรัฐที่ 3 ในปี 1871-1946 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่รัฐสภาทรงอำนาจสูงสุด และจบลงเมื่อฝรั่งเศสเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 (ชนะได้แคว้นคืน) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สาธารณรัฐที่ 4 (1946-1958) ได้มีการบูรณะประเทศจากสงคราม ประชากรและเศรษฐกิจขยายตัว ฝรั่งเศสต้องทำสงครามกับอาณานิคมของตนที่ต้องการเป็นอิสระ อาทิ เวียดนาม และอัลจิเรีย ฝรั่งเศสได้เข้าร่วมในการจัดตั้งกลุ่มประชาคมยุโรป ต่อมาได้เกิดความวุ่นวายที่เกิดจากสงครามอัลจิเรีย เรียกร้องอิสรภาพ ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งสาธารณรัฐที่ 5 (1958-ปัจจุบัน) ฝรั่งเศสเกิดวิกฤตการณ์ทางสังคม นักศึกษาปารีส ก่อความวุ่นวายหลังเดอโกล ผู้ที่ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีของฝรั่งเศส คือ
- นายพล Charles de Gaulles (ค.ศ.1959 – ค.ศ.1969)
- นาย Georges Pompidou (ค.ศ.1969 – ค.ศ.1974)
-นาย Valery Giscard d’Estaing (ค.ศ.1974 – ค.ศ.1981)
- นาย François Mitterrand (ค.ศ.1981 - ค.ศ.1995)
- นาย Jacques Chirac (ค.ศ.1995 – ปัจจุบัน)
การปกครองในปัจจุบัน เป็นการปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดี โดยมี อำนาจบริหาร และ นิติบัญญัติ
อำนาจบริหาร ประกอบด้วย ประธานาธิบดีและคณะรัฐบาล
- ประธานาธิบดี ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยการใช้ระบบเลือกตั้งโดยใช้เสียงข้างมากสองรอบ ดำรงตำแหน่งสมัยละ 5 ปีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญคือ1) เป็นประมุขสูงสุดของรัฐ
2) แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
3) ผู้นำกองทัพทั้งหมด
4) ผู้ประกาศใช้กฎหมาย
5) ประธานคณะรัฐมนตรี
6) ผู้มีในการตัดสินนโยบายสำคัญ
- รัฐบาล ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆนายกรัฐมนตรี มาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ Dominique de villepinอำนาจหน้าที่ที่สำคัญคือ

1) เป็นผู้บริหารประจำรัฐบาล
2) มีอำนาจในการออกและแก้ไขกฤษฎีกาต่างๆ
3) ตัดสินการบริหารงานของรัฐมนตรี
รัฐมนตรี มาจากการเสนอชื่อโดยนายกรัฐมนตรี แล้วให้ประธานาธิบดี แต่งตั้งในภายหลังอำนาจหน้าที่ที่สำคัญคือ
1) อำนาจในการประกาศกฎอัยการศึก
2) อำนวยการราชการพลเรือนและควบคุมกำลังกองทัพ
โครงสร้างการบริหารของรัฐบาล กระทรวง+ทบวง
ด้านการเมือง : ยุติธรรม การต่างประเทศ กองทัพ มหาดไทย
ด้านวัฒนธรรม : ประชาสัมพันธ์ วัฒนธรรม ศึกษาธิการ
ด้านสังคม : สาธารณสุขและประชากร แรงงาน โทรคมนาคม
ด้านเศรษฐกิจ : สาธารณูปโภคและการขนส่ง โยธาธิการ อุตสาหกรรมและการค้า การเกษตร การคลังและเศรษฐการ

อำนาจนิติบัญญัติ ประกอบด้วย รัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา) ตุลาการรัฐธรรมนูญ และ สภาเศรษฐกิจและสังคม
- รัฐสภา ประกอบด้วย
1) สภาผู้แทนราษฎร ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 4 ปี จำนวน 410 คน
2) วุฒิสภา ได้รับเลือกตั้งจากบุคคลในกลุ่มอาชีพ จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกเทศบาล คณะเทศมนตรี ดำรงตำแหน่งสมัยละ 7 ปี จำนวน 282 คน
อำนาจหน้าที่ที่สำคัญคือ
1) อำนาจในการออกกฎหมาย
2) ควบคุมรัฐบาล
3) ควบคุมการเงินและการคลัง

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย อดีตประธานาธิบดี และผู้ทรงคุณวุฒิ 9 นาย
อำนาจหน้าที่ที่สำคัญคือ
1) หน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายทางการเมือง
2) ดูแลฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารให้เคารพตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

สภาเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วย ตัวแทนจากกลุ่มอาชีพ อยู่ในตำแหน่งสมัยละ 9 ปี กรรมการสมาชิก 200 คน
อำนาจหน้าที่ที่สำคัญคือ ให้คำปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมทางกฎหมาย




No comments: