Monday, December 04, 2006


“ฝนหลวง” เย็นชุ่มฉ่ำหัวใจไทยมิรู้ลืม

“ฝนหลวง” เป็นโครงการสำคัญที่คนไทยรู้จักดี และเมื่อปี 2548 ที่เพิ่งผ่านไปนั้นฝนหลวงก็ได้เทลงมาให้หัวใจไทยชุ่มฉ่ำอีกครั้ง และช่วยชะล้างความทุกข์ในใจชาวไทยจากปัญหาภัยแล้งช่วงกลางปีในหลายพื้นที่ ซึ่งระดับน้ำในเขื่อนทั้ง 13 แห่งทั่วประเทศลดลงจนอยู่ในขั้นวิกฤต โดยผลจากการกู้ภัยแล้งด้วยโครงการหลวงก็สามารถบรรเทาวิกฤตดังกล่าวได้อย่างน่าพอใจทั้งนี้โครงการฝนหลวงเกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี 2498 และทรงสังเกตเห็นว่าบนท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมแต่ไม่รวมตัวกันให้เกิดฝน จึงมีพระราชดำริว่าน่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อตัวเป็นเมฆฝนได้ จนกระทั่งมีการจัดตั้ง “สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง” ซึ่งดำเนินงานฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบันหลักการทำฝนหลวงมีขั้นตอนโปรย “ผงเกลือแป้ง” เพื่อเป็นแกนในการดูดความชื้นในอากาศ จากนั้นใช้สารเคมีอีกหลายชนิดเพื่อช่วยในการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) เช่น เกลือแกง ยูเรีย แอมโมเนียไนเตรตและน้ำแข็งแห้ง เป็นต้น จนเมื่อเมฆเติบโตและเคลื่อนสู่เป้าหมายก็ใช้เทคนิคจู่โจมกลุ่มเมฆ โดยโปรยเกลือโซเดียมคลอไรด์ทับยอดเมฆและฐานเมฆและโปรยผงยูเรียเพื่อให้อุณหภูมิลดลง ทำให้เกิดเม็ดน้ำขนาดใหญ่แล้วตกกลายเป็นฝนในที่สุด